วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิธีเลี้ยงกบ

การเลี้ยงกบ

การเลี้ยงกบในกล่องโฟม
การเลี้ยงกบในกล่องโฟมคอนโด ก่อนอื่นต้องหากล่องโฟมขนาดกว้าง 40 ซม.ยาว 60 ซม. สูง 30 ซม. โดยหาซื้อได้จากห้างสรรพสินค้า ที่ห้างใช้ใส่ผักผลไม้มาวางจำหน่าย ราคากล่องละ 80 บาท แต่ต้องเลือกกล่องโฟมที่ใช้ในการใส่ผักและผลไม้เท่านั้น เนื่องจากกล่องโฟมเหล่านี้จะไม่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้างเมื่อนำมาใช้เป็นสถาน ที่เลี้ยงกบ และต้องเลือกดูว่ากล่องโฟมไม่มีการรั่วซึมหรือไม่  จากนั้นนำมาทำความสะอาดและดัดแปลงโดยการเจาะรูรอบกล่องทั้ง 4 ด้านเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก นำเทปกาวมาติดยึดฝากล่องให้พับปิดเปิดได้ แล้วเจาะรูด้านบนฝากล่อง ตัดปากขวดน้ำดื่มพลาสติก ยัดใส่ลงไปในรูที่เจาะไว้เพื่อใช้เป็นที่ให้อาหาร เมื่อหาที่วางกล่องเรียบร้อย ใส่น้ำลงไปให้สูงประมาณ 1 ซม. นำกบจากบ่ออนุบาลที่มีอายุ 2 เดือนใส่กล่องละ 100 ตัว ไปวางไว้ในโรงเรือนหรือที่ใดก็ได้ แต่ห้ามไปตั้งกลางแจ้งหรือถูกแดดเด็ดขาดเพราะจะทำให้กบร้อนตายได้  เพื่อประหยัดเนื้อที่ นำกล่องโฟมตั้งซ้อนกันไว้แต่ไม่ควรเกิน 4 ชั้น เพราะจะสะดวกต่อการให้อาหาร โดยการให้อาหารกบก็จะใช้หัวอาหารปลาดุกโตวันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น ส่วนการเปลี่ยนถ่ายน้ำก็ควรจะเปลี่ยน 2 วันต่อครั้ง เพื่อไม่ให้น้ำสกปรก ส่วนการเปลี่ยนน้ำก็ทำได้ง่ายๆ โดยการแง้มฝากล่องแล้วเทน้ำออกจากนั้นก็นำสายยางสอดลงไปในที่ให้อาหาร ปล่อยน้ำเข้ากลับไปเหมือนเดิม จากนั้นหมั่นตรวจดูการเจริญเติบโตของกบทุก 2 สัปดาห์ และคัดแยกกบที่โตช้ากว่าตัวอื่นๆ ออก เนื่องจากหากปล่อยไว้กบจะกัดกันและเป็นแผลซึ่งอาจทำให้เกิดโรคตามมาได้  กระทั่งกบอายุได้ 4 เดือน ก็ให้แยกกบออกจนเหลือ 50-60 ตัว เนื่องจากกบจะเริ่มโต หากปล่อยไว้จะทำให้แออัดกบจะกัดกัดตายได้ จากนั้นก็ดูแลไปอีก 2 เดือน ก็สามารถจับไปขายได้แล้ว กบก็จะมีน้ำหนักอยู่ที่ตัวละ 400-500 กรัม ขายในท้องตลาดกิโลกรัมละ 150 บาท การเลี้ยงกบกล่องโฟมทำได้ง่าย สะดวกมาก เพราะกล่องมีน้ำหนักน้อย ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ยกเปลี่ยนน้ำได้สะดวก ถือเป็นการเลี้ยงระบบปิดทำให้กบปลอดจากโรค ประหยัดเนื้อที่ เพียงแต่มีพื้นที่ 4×6 ตารางวา ก็จะเลี้ยงกบได้ถึง 5,000 ตัวเลยทีเดียว
ข้อดี
1. เลี้ยงในบริเวณบ้าน หรือมีพื้นที่จำกัดได้ดีพอสมควร และดีกว่าการเลี้ยงแบบใส่ขวดพลาสติก
2. ลงทุนต่ำ กว่าเลี้ยงในบ่อปูนหรือบ่อดิน
3. ให้อาหารกบได้ง่ายและทั่วถึง ไม่เปลืองอาหาร
4. ควบคุมโรคได้ง่าย ถ่ายน้ำสะดวก และใช้น้ำน้อยกว่า
5. เหมาะกับผู้ที่เริ่มศึกษาการเลี้ยง หรือเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมเล็กๆน้อยๆเท่านั้น ไม่หวังผลกำไร
ข้อเสีย
1. ใช้เวลาถ่ายน้ำและให้อาหารนาน หากเลี้ยงจำนวนหลายๆกล่อง เพราะใส่ได้แค่กล่องละ 100 ตัว เท่านั้น
2. ไม่เหมาะกับการเลี้ยงจริงจังเชิงพาณิชย์ ที่ต้องมีปริมาณผลผลิตต่อเดือนสูง ถ้าหากมีแรงงานน้อยหรือผู้เลี้ยงมีเวลาไม่มากพอ
3. ไม่คุ้มค่าเวลาเลี้ยง เหน็ดเหนื่อยกว่าปกติ ไม่มีกำไร

หลักการให้อาหารกบ คือ
                1. การให้อาหารและขนาดเม็ดอาหาร ให้ดูคร่าวๆจากอายุกบ ไปเลยครับ ไม่ต้องสนใจหลักการอะไรมากครับ เช่น
- กบเล็กอายุ 15 – 35 วัน ให้กินอาหารเม็ดเล็กสุด หรือที่เรียกว่าเม็ดโฟม ให้กินพออิ่ม อย่าให้มาก เพราะกบจะท้องอืดตายได้
- กบเล็กอายุ 36 – 45 วัน ให้กินอาหารเม็ด เบอร์ 1 ได้ครับ
- กบรุ่นอายุ 46- 59 วัน ให้กินอาหารเม็ด เบอร์ 2 ได้เลยครับ
- กบโตอายุ 60 วัน ขึ้นไป ให้กินอาหารเม็ด เบอร์ 3 ได้เลยครับ และก่อนจับก็ให้กินเบอร์ 4 เพื่อรอคนมาจับได้นะครับ
                2. อาหารยิ่งเบอร์เล็ก ยิ่งแพง เพราะว่าในช่วงกบอายุน้อยๆจะต้องการโปรตีนปริมาณสูงกว่ากบโต จึงทำให้อาหารเบอร์เล็กแพงกว่าเบอร์ใหญ่ๆครับ
                3. กบเล็ก อายุ 30 – 60 วัน ให้กินอาหารวันละ 3 มื้อ ให้กินพออิ่ม อันนี้ต้องดูเอาว่ากบกินทั่วถึงแล้วหรือไม่ ไม่ต้องไปคำนวณตามสูตรอะไรมากมาย เอาง่ายๆพอครับ
                4. กบรุ่นและกบโต อายุ 60 วันขึ้นไปให้กินอาหารวันละ 2 มื้อ ก็พอครับ จะได้ไม่เปลืองมาก อย่าให้อาหารมากเกิน เพื่อป้องกันกบท้องอืด และตาย
                5. การให้อาหารควรเคล้ายาให้กบบ้าง ตามอาการที่กบเป็นโรค หรือเพื่อป้องกันโรค ส่วนยาก็ไปที่ร้านเกษตรทั่วไปแล้วเลือกดูเอาครับตามที่พบอาการว่ากบมีอาการเป็นอะไรบ้าง สมัยนี้มียารักษาและป้องกันหลายยี่ห้อครับ แต่แนะนำให้ใช้ยาให้น้อยที่สุด หรือเท่าที่จำเป็นนะครับ ตรงนี้สำคัญมากถ้าต้องการส่งออกกบในอนาคตครับ
                6. ตามปกติกบจะกินอาหารเรื่อยๆไม่มีหยุด เรียกว่ากินจนท้องอืดและตายในที่สุด ดังนั้นอย่าคิดว่ากบกินอาหารหมดแสดงว่ากบหิว จริงๆแล้วให้ดูโดยรวมๆว่ากินทั่วถึงแล้วหรือยัง ถ้าทั่วถึงแล้วก็ให้หยุดให้อาหารในมื้อนั้นๆและจำเป็นมาตรฐานไว้ว่าเราควรจะให้มื้อละกี่กิโลกรัมครับ


การเลี้ยงกบในขวดน้ำ                การเลี้ยงกบในขวดน้ำพลาสติกเป็นการประยุกต์การเลี้ยงกบให้เข้ากับสภาพพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด  ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดและเป็นการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นการจัดการที่ง่ายและสะดวก
                                วัสดุและอุปกรณ์
1. ขวดพลาสติก ขนาดบรรจุ 1.25 ลิตร                            4. น้ำสะอาด
2. ตู้หรือชั้นวางของ                                                           5. อาหารเม็ดสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงกบ
3. มีด หรือคัตเตอร์                                                              6. ลูกกบ อายุ 1 เดือน ขึ้นไป
                                วิธีการเลี้ยง 1 .นำขวดพลาสติกที่เตรียมไว้ทำความสะอาด
2 .เจาะรูเป็นรูปสามเหลี่ยม ขนาด 2 เซนติเมตร บริเวณ 1 ส่วน 3 ของขวดด้านบน เพื่อเป็นที่หายใจและให้อาหาร
3. นำลูกกบ อายุ 1 เดือน ขึ้นไป ใส่ลงในขวดพลาสติกที่เตรียมไว้ เติมน้ำพอท่วมหลังกบ ปิดผาให้สนิท
4. นำไปวางในชั้นวาง โดยวางขวดพลาสติกให้เอียง 45 องศา ไว้ในที่ร่ม
5. ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 3-5 เม็ด (เช้า-เย็น)
6. เปลี่ยนน้ำวันละ 1 ครั้ง ก่อนให้อาหารครั้งที่ 2 (ตอนเย็น)
7. เปิดฝาขวด เมื่อกบโตแล้ว (3 เดือน ขึ้นไป)
8. นำกบไปประกอบอาหารได้ เมื่ออายุตั้งแต่ 4 เดือน ขึ้นไป
                                การให้อาหาร                 อาหารผสมอัดเม็ด อาหารผสมแบบอัดเม็ดเป็นอาหารที่สะดวกในการใช้ การเก็บรักษา มีปริมาณและคุณค่าอาหารที่แน่นอน การเตรีอมอาหารผสมจะเตรียมจากวัตถุดิบชนิดต่าง ๆ นำมาผสม กันตามสูตร อาหารผสมนี้ลูกกบจะไม่ค่อยคุ้นเคยต้องหัดให้กินโดยในระยะแรกอาจจะผสมปลาเป็ดให้ มากไว้ก่อนแล้วค่อยๆ ลดปลาเป็ดลงจนเหลือแต่อาหารผสมล้วน ๆ                                การสังเกตและให้เวลาในการเลี้ยงกบขวด 1. ควรให้อาหารพอเหมาะ โดยให้สังเกตไม่มีอาหารเหลือในขวด เมื่อให้อาหารครั้งต่อไป
2. น้ำที่เปลี่ยนถ่ายสามารถนำไปรดต้นไม้หรือผักสวนครัวต่อไป
3. ควรทำความสะอาดขวดที่ใช้เลี้ยงเมื่อสกปรกหรือมีกลิ่น
4. เมื่อพบกบมีบาดแผลให้รีบรักษา โดยผสมยาปฏิชีวนะกับอาหารให้กบกิน ส่วนใหญ่จะพบบาดแผลที่ปาก เนื่องจากกระโดดในขวดเมื่อกบตัวโตขึ้น
5. ขวดพลาสติกที่นำมาเลี้ยงควรเป็นขวดลักษณะสี่เหลี่ยม จะสะดวกและเหมาะสมในการจัดชั้นวาง

                                ประโยชน์ในการเลี้ยง
1. ประหยัดค่าใช้จ่าย
2. นำมารับประทานได้
3. เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
4. ลดภาวการณ์เกิดน้ำเสีย
5. ง่ายต่อการผลิต
6. ลดการเกิดขยะจากขวดน้ำได้ด้วย
7. สะดวกสบายไม่ต้องดูแลมาก
8. ประหยัดพื้นที่ในการเลี้ยง

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เกษตรประณีต

แหล่งเรียนรู้ตำบลห้วยต้อน

แหล่งเรียนรู้ตำบลห้วยต้อน  เรื่องการทำเกษตรผสมผสาน
คูณละม่อม  ปราบภัย ภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านใหม่ผาเอียง หมู่ 12  ตำบลห้วยต้อน อำเภอเมืองชัยภูมิ
จังหวัดชัยภูมิ